3 เรื่องที่ควรรู้ก่อนส่งเครื่องมือสอบเทียบ

3 เรื่องที่ควรรู้ก่อนส่งเครื่องมือสอบเทียบ

การที่เราจะส่งเครื่องมือสอบเทียบเบื้องต้น เราต้องตอบให้ได้ก่อนว่า เครื่องมือเราที่จะส่งสอบเทียบนั้น นำมาใช้งานเกี่ยวข้องกับระบบงานหรือมาตรฐานอะไร เพราะสิ่งที่เราจะได้มาหลังจากส่งเครื่องมือ คือ ใบรายงานผลการสอบเทียบ  (Certificate of Calibration)  ซึ่งเป็นเอกสารเพื่อยืนยันว่าเครื่องมือวัดนั้นๆ ได้รับการสอบเทียบแล้ว 

แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการส่งเครื่องมือสอบเทียบ คือ รายละเอียดของใบรายงานผลการสอบเทียบ เพื่อนำมาพิจารณาหรือประเมินว่าเครื่องมือนั้นยังสามารถนำมาใช้งานได้ตามที่ต้องการ /ตามที่กำหนด /เกณฑ์ที่เราจะยอมรับหรือไม่ เช่น ค่าความผิดพลาด (Error), ค่าความถูกต้อง (Accuracy), ค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty), ค่าเลื่อน (Drift) และความเสถียร (Stability)  และเพื่อที่จะได้พิจารณาว่าค่าต่างๆ เหล่านี้ มีโอกาสที่จะหลุดออกนอกเกณฑ์การยอมรับหรือไม่ เพื่อที่จะได้กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวัง กำหนดวิธีการใช้งาน ตลอดจนการตรวจสอบระหว่างใช้งาน

ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากเครื่องมือมีผลการวัดออกนอกเกณฑ์การยอมรับที่กำหนดด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ก่อนที่เราจะตัดสินใจส่งเครื่องมือไปทำการสอบเทียบ ที่ห้องปฏิบัติการสอบเทียบภายนอกนั้น สิ่งที่เราควรจะต้องพิจารณาและคำนึงถึงก่อนส่งเครื่องมือวัดไปสอบเทียบทุกครั้ง เพื่อที่ว่าจะได้ผลการสอบเทียบที่เป็นไปตามความต้องการของเรา และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยมีข้อแนะนำ 3 ข้อดังนี้

1. กำหนดเกณฑ์การยอมรับของเครื่องมือวัดว่ามีค่าเท่าใด เช่น เครื่องมือวัดภายหลังสอบเทียบแล้ว ควรมีค่าความไม่แน่นอนของการวัดอยู่ในเกณฑ์ใด เช่น ± 0.5°C หรือ ±  1.0% RH   หรือ ค่าความผิดพลาด ≤  Accuracy ของเครื่องมือนั้นๆ เป็นต้น 

2. ตรวจเช็ครายชื่อห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง
ความสามารถระบบคุณภาพตามมาตรฐานอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ เช่น ISO/IEC 17025 : 2017 ขอบข่าย และขีดความสามารถในการสอบเทียบและการวัดเป็นไปตามเกณฑ์ที่ต้องการหรือไม่ เพื่อที่จะคัดเลือกว่าจะส่งไปที่ใดโดยพิจารณาราคา ระยะเวลา และการบริการ ที่เหมาะสม 

รายชื่อห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรองสามารถดูในเว็บของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
https://www.tisi.go.th/website/accreditation/labgroup


กรณีที่เครื่องมือวัดนั้น ไม่มีหน่วยงานไหนได้รับการรับรองความสามารถในส่วนของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ให้สอบถามข้อมูลอื่นๆประกอบ เช่น วิธีการสอบเทียบ มาตรฐานวิธีการที่อ้างอิง เครื่องมือมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้

3. การตรวจเช็คเครื่องมือวัดเบื้องต้น เพื่อดูว่าเครื่องมือนั้นๆ ยังใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ เพราะบางหน่วยงานที่รับบริการสอบเทียบ จะมีค่าบริการการสำหรับตรวจเช็คเครื่องมือก่อนส่งเข้าห้องปฏิบัติการสอบเทียบ  กรณีที่เครื่องมือปกติเราจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และจะได้ไม่ต้องเสียเวลากรณีที่ส่งเครื่องมือไปแล้ว เครื่องมือสอบเทียบไม่ได้ ต้องส่งกลับมาตรวจเช็คใหม่ และที่สำคัญเป็นหลักฐานการยืนยันว่าก่อนส่งเครื่องมือสอบเทียบ เครื่องของเราเป็นอย่าไรปกติหรือไม่ ป้องกันเครื่องมือเสียระหว่างขนส่งหรือระหว่างสอบเทียบ

ตัวอย่างการตรวจเช็คเบื้องต้น
• เครื่องมือวัดอุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์ ทดสอบตั้งวางไว้ในสภาวะแวดล้อมทั่วไปเพื่อเปรียบเทียบผลการวัดของแต่ละเครืองมือ ซึ่งก็จะเห็นผลการวัดว่าเครื่องมือเครื่องไหน ที่มีค่าแตกต่างจากเครื่องอื่นๆ กรณีตรวจเช็คหรือแก้ไขได้เอง ให้ดำเนินการก่อน กรณีดำเนินเองไม่ได้ก็แจ้ง ความผิดปกตินี้ให้ทางหน่วยงานที่ส่งเครื่องมือรับทราบ เพื่อประเมินว่าสามารถแก้ไข ซ่อมแซม และสอบเทียบได้หรือไม่

   
 
• การตรวจสอบเครื่องมือวัด Gas ไม่ว่าจะเป็น Gas Analyzer หรือ Gas Detector ทดสอบโดยเปิดเครื่องวัดบรรยากาศทั่วไป กรณีที่เครื่องปกติ เครื่องก็จะแสดงผลการวัดเฉพาะค่า O2 ซึ่งค่าก็จะอยู่ในช่วง 19.5 - 23.5%Vol ขึ้นอยู่กับการอ่านของแต่ละเครื่อง และบางเครื่องก็อาจจะแสดงผลของการตรวจสอบด้วยการตรวจสอบเครื่องมือเบื้องต้น สามารถดูวิธีการดำเนินการตามคู่มือของเครื่องมือนั้นได้

 

หากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการเครื่องมือ และการส่งเครื่องมือวัดไปสอบเทียบ ได้พิจารณาประเด็นเหล่านี้ก่อนการส่งเครื่องมือวัดไปสอบเทียบ ก็จะได้รับผลประโยชน์คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่เสียไป

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณนงลักษณ์  โทร. 02-779-8888 ต่อ 430
หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.entechsv.com/17330926/บริการสอบเทียบ 

Visitors: 132,800